วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ข้าวหอมใบเตย C85

       ข้าว C85 ปัจจุบันกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมาก เนื่องจากมีผู้ประกอบการโรงสีหลายแห่งในจังหวัดนครสวรรค์ นำไปผลิตเป็นข้าวสารและจัดจำหน่ายในท้องตลาด โดยใช้ชื่อว่า “หอมใบเตย” แต่กำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ
          
     ดังนั้น จึงควรมีการพัฒนาการผลิตและขยายจำนวนเมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และโรงสีภายในพื้นที่ให้ทั่วถึง เพื่อให้เกษตรกรได้บริโภคข้าวที่มีคุณภาพ และเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร รวมทั้งรักษาพันธุ์ข้าวพันธุ์ให้สามารถปลูกและคงความนิยมต่อไปให้ได้




คุณลักษณะทั่วไป
      ข้าวพันธุ์ C85 เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง อายุปานกลาง เก็บเกี่ยวประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน ลำต้นและใบมีสีเขียว ใบกว้าง ใบธงทำมุมกับคอรวง ต้นแข็ง ไม่ล้มง่าย รวงใหญ่แน่นปานกลาง ความสูงเฉลี่ย 166 เซนติเมตร น้ำหนักข้าวเปลือก 11.7 กิโลกรัมต่อถัง ข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด หนัก 35.4 กรัม เปลือกเมล็ดสีฟาง ข้าวเปลือกยาว 10.40 มิลลิเมตร กว้าง 2.95 มิลลิเมตร    ยาว 2.15 มิลลิเมตร รูปร่างเรียว ระยะพักตัว 5-6 สัปดาห์

 
                          ลักษณะเด่น

  1. ให้ผลผลิตเฉลี่ย 517 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่า ขาวดอกมะลิ 105 ประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์
  2. วันเก็บเกี่ยวไม่ตรงกับ ขาวดอกมะลิ 105 เนื่องจากออกดอกช้ากว่า ประมาณ 10 วัน
  3. คุณภาพเมล็ดดี เมล็ดข้าวกล้องยาว 8.09 มิลลิเมตร รูปร่างเรียว มีท้องไข่น้อย 
  4. คุณภาพการสีดี  สามารถทำเป็นข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ได้
  5. คุณภาพทางเคมีจัดเป็นข้าวอมิโลสต่ำ คือ 18.55 เปอร์เซ็นต์ ความคงตัวของแป้งสุกอ่อน อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ ข้าวหุงสุกแล้วอ่อนนุ่ม



พื้นที่แนะนำ
                      นาอาศัยน้ำฝนในเขตภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง

ข้อควรระวัง 
               ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง และโรคไหม้ ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล