วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554

น้ำท่วมศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท

       ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท ประสบปัญหาน้ำท่วมมาตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2554 ก่อเกิดความเสียหายต่อหน่วยงาน และงานวิจัยเป็นอย่างมาก ทั้ง ความเสียหายที่ประเมินค่าได้ ได้แก่ อาคาร สำนักงาน อุปกรณ์สำนักงาน อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ และเครื่องจักรกลการเกษตร รวมทั้งเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์คัด และพันธุ์หลัก ที่ถือเป็นเมล็ดพันธุ์ชั้นหัวเชื้อ จำนวนทั้งสิ้น 90 ตัน ซึ่งต้องจัดสรรไปให้กับศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวต่าง ๆ ผลิตเพื่อจำหน่ายให้กับเกษตรกร และความเสียหายที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ ได้แก่ งานวิจัยทั้งหมดในฤดูนาปี 2554 ตั้งแต่งานปรับปรุงพันธุ์ข้าว งานอนุรักษ์พันธุกรรมข้าว งานอารักขาโรค-แมลง  จนถึงเทคโนโลยีการผลิตข้าว โดยงานปรับปรุงพันธุ์ข้าวนั้นต้องสูญเสียสายพันธุ์ข้าวพันธุ์ผสมในชั่วอายุต่างๆ ซึ่งมีโอกาสถูกคัดเลือกเป็นข้าวพันธุ์ดีในอนาคตได้ รวมทั้งงานอนุรักษ์พันธุกรรมที่เก็บรวบรวมข้าวพื้นเมืองจากที่ต่างๆ และนำมาปลูกประเมินลักษณะเพื่อคัดเลือกให้เป็นพันธุ์บริสุทธิ์ ก็ได้รับความเสียหายไปทั้งหมดเช่นกัน

ประมวลภาพน้ำท่วมศูนย์วิจัยข้าวชัยนาทในช่วงแรกๆ ที่น้ำเริ่มเข้ามาภายในศูนย์ฯ
ประตูทางเข้าศูนย์ฯ วันแรกๆที่น้ำเริ่มท่วม
ป้อมยาม ทางเข้าศูนย์ฯ
ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท ยังยินดีต้อนรับอยู่
สภาพแปลงผลิตเมล็พันธุ์ (กข31) ที่อยู่ติดกับทางเข้าวศูนย์ฯ ในวันแรก
ซึ่งต่อมาระดับน้ำสูงขึ้นอีกจนท่วมข้าวเสียหายไปทั้งหมด
อาคารสำนักงาน
ศูนย์บริการชาวนา
แปลงแสดงพันธุ์ข้าว
อาคารงานผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและยุ้งข้าว
ลานตากข้าว
ต้นมะตูม ที่สมเด็จพระเทพฯ ทรงปลูกไว้
ถนนหน้าห้องพัสดุ
ถนนติดกับแปลงทดลอง
อาชีพใหม่ของคนงาน
พาหนะที่ใช้ในยามนี้
ใต้น้ำเป็นแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี
บรรยากาศสวยๆ แต่ใต้ผืนเป็นข้าวพันธุ์ผสมสายพันธุ์ดี  
ที่มีโอกาสถูกคัดเลือกเป็นพันธุ์ข้าวในอนาคต
จากวันแรกที่น้ำท่วม ระดับน้ำก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่สามารถระบายออกได้

วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท รับเสด็จ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

         วันที่ ๓๐ ธันวาาคม ๒๕๕๑  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จพระราชดำเนินยังศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ทอดพระเนตรการดำเนินงานของศูนย์ฯ ทรงเกี่ยวข้าวในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์หลักซึ่งปักดำข้าวพันธุ์ชัยนาท ๑ และทรงเยี่ยมราษฎรที่มาเฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ
  
ทรงทอดพระเนตรนิทรรศการภายในศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท

งานด้านปรับปรุงพันธุ์ข้าวนาน้ำฝน
งานด้านปรับปรุงพันธุ์ข้าวนาชลประทาน
งานด้านอารักขา (โรคข้าว)
งานด้านอารักขา (แมลงศัตรูข้าว)
ทรงปลูกต้นมะตูม ต้นไม้ประจำจังหวัดชัยนาท
ทอดพระเนตรศูนย์บริการชาวนา
ทรงประทับรถไฟฟ้า เสด็จไปแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว  ชัยนาท 1
ทรงเสด็จลงแปลงนาเกี่ยวข้าว
ทรงเยี่ยมราษฎรที่มาเฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ
เกษตรกรจังหวัดชัยนาททูลเกล้าถวายส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวา
เจ้าหน้าที่ของศูนย์วิจัยข้าวเฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ชัยนาท 3 (Chai Nat 3), กข29 (RD29), ชัยนาท 80 (Chai Nat 80)

        ชัยนาท 3, ชัยนาท 80 และกข29  เป็นชื่อข้าวพันธุ์เดียวกัน ไม่ว่าจะเรียกว่ายังไงก็ได้ทั้งนั้น โดยชื่อ ชัยนาท 3 มาจากลำดับของพันธุ์ข้าวที่ออกโดยศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท เป็นพันธุ์ที่สาม ชื่อชัยนาท 80 เป็นชื่อที่เนื่องมาจากรับรองในปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนม์มายุครบ 80 พรรษา ส่วนชื่อ กข29 กำหนดจากเป็นข้าวพันธุ์แรกที่รับรองพันธุ์ภายหลังมีประกาศจัดตั้งกรมการข้าว ขึ้นใหม่ ต่อจากพันธุ์ข้าว กข27 ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์สุดท้ายที่รับรองโดยของกรมการข้าวเดิม โดยปัจจุบันในหน่วยงานกรมการข้าวกำหนดให้เรียกชื่อ กข29 เหมือนกันทั้งหมด เพื่อให้ความเข้าใจที่ตรงกัน

         เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว 103 วัน ในฤดูนาปี และ 99 วันในฤดูนาปรัง เมื่อปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม กอตั้ง ต้นแข็งไม่ล้มง่าย ความสูงเฉลี่ย 104 เซนติเมตร ใบสีเขียวเข้ม ใบธงตั้งตรง รวงแน่นปานกลาง คอรวงยาว เปลือกเมล็ดสีฟาง ข้าวกล้องสีขาว เป็นท้องไข่น้อย รูปร่างเรียว ยาว 7.34 มิลลิเมตร กว้าง 2.23 มิลลิเมตร หนา 1.80 มิลลิเมตร มีปริมาณแอมิโลสสูง (26.6-29.4%) ระยะพักตัวของเมล็ด 4-6 สัปดาห์

ประวัติ
      ได้จากการผสมสามทางระหว่างลูกผสมชั่วที่ 1 ของพันธุ์สุพรรณบุรี 60 และสายพันธุ์ IR29692-99-3-2-1 กับสายพันธุ์ IR11418-19-2-3 ที่ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท เมื่อ พ.ศ. 2532 คัดเลือกจนได้สายพันธุ์ CNT89098-281-2-1-2-1 




ปี พ.ศ. 2533 - 2541 ศึกษาพันธุ์ และเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาทระหว่าง ปี ปี ปี พ.ศ. 2541 - 2547 นำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ศูนย์วิจัยข้าวลพบุรี และศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท
ปี พ.ศ. 2542 - 2547 นำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ จังหวัดพิษณุโลก ลพบุรี สิงห์บุรี และชัยนาท 
ปี พ.ศ. 2544 - 2548 นำเข้าทดสอบเสถียรภาพผลผลิต ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก แพร่ อุบลราชธานี สกลนคร สุรินทร์ ปทุมธานี สุพรรณบุรี พัทลุง คลองหลวง ราชบุรี ชัยนาท ลพบุรี และฉะเชิงเทรา คัดเลือกเข้าทดสอบผลผลิตในนาเกษตรกร ในจังหวัดพิษณุโลก อุตรดิตถ์ พิจิตร สุโขทัย ชัยนาท และสิงห์บุรี 
คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง ชื่อ กข29 (ชัยนาท 80) เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2550


ลักษณะเด่น
1. อายุสั้น มีอายุวันเก็บเกี่ยว 99 วัน ในฤดูนาปรัง และ103 วันในฤดูนาปี เมื่อปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม
2. ผลผลิตสูง เฉลี่ย 876 กิโลกรัมต่อไร่
3. ค่อนข้างต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในภาคเหนือตอนล่าง และโรคขอบใบแห้ง
4.ให้ผลผลิตเฉลี่ยฤดูฝน 725 กก./ไร่ และฤดูแล้ง 754 กก./ไร่
5.คุณภาพการสีดีมาก สามารถสีเป็นข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์
6. มีปริมาณธาตุเหล็กในข้าวกล้อง 15.7 มิลลิกรัม ต่อ 1 กิโลกรัม ในข้าวสาร 6.7 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม     


พื้นที่แนะนำ
พื้นที่นาชลประทาน ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน ที่ต้องการข้าวอายุสั้น โดยเริ่มปลูกในเดือนสิงหาคม ธันวาคม และเมษายน หรือสำหรับปลูกหลังถูกน้ำท่วมในฤดูฝนและสามารถปลูกและเก็บเกี่ยวได้ 2 ครั้งในฤดูนาปรังก่อนถูกน้ำท่วม

ข้อควรระวัง
1.ไม่ควรปลูกในช่วงกลางเดือนกันยายนถึงปลายเดือนพฤศจิกายน ซึ่งมีอากาศเย็น ทำให้เมล็ดลีบมาก ผลผลิตต่ำ
2. กข29 (ชัยนาท 80) อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในเขตจังหวัดนครปฐม ปทุมธานี ราชบุรี และฉะเชิงเทรา

ปัจจุบัน
ข้าวพันธุ์ กข29 หลังจากที่ในระยะแรกมีความยาวของเมล็ดข้าวเปลือกสั้นกว่าเมล็ดข้าวทั่วไปอยู่เล็กน้อย จนไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก ปัจจุบันจึงได้มีการคัดเลือกพันธุ์ใหม่อีกครั้งเพื่อให้มีความยาวของเมล็ดมากขึ้น จนเป็นที่ยอมรับจากโรงสีหรือพ่อค้าข้าว ซึ่งเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางยังมีการปลูกข้าวพันธุ์นี้อยู่  

ชัยนาท 2 (Chai Nat 2)

          ข้าวพันธุ์ชัยนาท 2 เป็นข้าวที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากข้าวทั่วไป คือ เป็นข้าวร่วน ประเภทข้าวเสาไห้ แต่มีกลิ่นหอม เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้บริโภค 
           เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุสั้น ประมาณ 103 – 105 วัน ความสูงประมาณ 95 ซม.มีลักษณะทรงกอแบะ ใบสีเขียวเข้ม ลักษณะใบธงเป็นแนวนอน รวงแน่นปานกลาง ระแง้ถี่ คอรวงยาว ต้นแข็ง ไม่ล้ม ใบค่อนข้างแก่เร็ว น้ำหนักข้าวเปลือกเฉลี่ย 10.57 ..ต่อถัง เปลือกเมล็ดสีฟาง ขนาดข้าวเปลือกยาว 10.59 มม. กว้าง 2.46 มมหนา 2.11 มมขนาดข้าวกล้อง ยาว 7.72 มมกว้าง 2.12 มม.หนา 1.76 มมมีระยะพักตัว ประมาณ 5  สัปดาห์
   
ประวัติ
       ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่าง ข้าวเจ้าพันธุ์หอมพม่า(Hawm Pamah) GS.No 3780 จากธนาคารเชื้อพันธุ์ข้าวแห่งชาติ ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี  (เป็นข้าวหอมพันธุ์พื้นเมืองเก็บมาจากจังหวัดกาญจนบุรี) กับสายพันธุ์ IR11418-19-2-3 จากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) ในปี พ.. 2530 ที่สถานีทดลองข้าวชัยนาท 
       ปี พ.. 2531–2535 ปลูกข้าวพันธุ์ผสมชั่วที่ ถึงชั่วที่  
       ปี พ.. 2536-2537 ปลูกศึกษาพันธุ์ขั้นต้นและขั้นสูง 
       ปี พ.. 2538-2545 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี  ระหว่างสถานี  และในนาราษฎร์  จนได้สายพันธุ์ CNT87040-284-1-4 คณะกรรมการบริหาร กรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2547 โดยให้ชื่อว่า ข้าวเจ้าชัยนาท 2


ลักษณะเด่น
   1. เป็นข้าวอายุสั้นกว่าพันธุ์ปทุมธานี 1ประมาณ  7-9  วัน
   2. ต้นเตี้ย สูง ประมาณ  83 – 95  ..
   3. คุณภาพการหุงต้ม เป็นข้าวร่วน มีกลิ่นหอม เป็นทางเลือกของผู้บริโภค ที่ชอบข้าวร่วนประเภทข้าวเสาไห้ แต่มีกลิ่นหอม
   4. ค่อนข้างต้านทานถึงต้านทาน ต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ดีกว่าพันธุ์ปทุมธานี 1
   5. ให้ผลผลิตเฉลี่ย 757 กก./ไร่(ปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตมใกล้เคียงกับพันธุ์ปทุมธานี1(734  กก./ไร่)

พื้นที่แนะนำ
 แนะนำให้ปลูกในพื้นที่การทำนาเขตชลประทาน ที่มีการทำนาอย่างต่อเนื่องในภาคเหนือตอนล่างพื้นที่ซึ่งน้ำท่วมเร็วในฤดูฝนมีช่วงระยะเวลาการทำนาค่อนข้างมีจำกัด เพื่อสามารถปลูกและเก็บเกี่ยวได้ทันเวลา
ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อแมลงบั่วมาก ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคใบสีส้ม และอ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้งในภาคเหนือตอนล่างแปลงนาที่ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์และปุ๋ยไนโตรเจนสูงเมื่อสภาพอากาศมีความชื้นสูง อาจเกิดการระบาดของโรคไหม้ สร้างความเสียหายต่อผลผลิตได้


ปัจจุบัน
     ข้าวพันธุ์ข้าวชัยนาท 2 ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนัก เนื่องจากเกษตรกรในเขตพื้นที่นาชลประทานนิยมปลูกข้าวพันธุ์อื่นๆ ได้แก่ ชัยนาท 1 ปทุมธานี 1 สุพรรณบุรี 1 หรือพิษณุโลก 2 ที่เน้นในเรื่องผลผลิตและความต้านทานต่อโรค-แมลงมากกว่า แต่ก็ยังมีการกล่าวถึงกันอยู่บ้างจากเกษตรกรบางส่วนที่เคยปลูกหรือบริโภคมาก่อน

ชัยนาท 1 (Chai Nat 1)

        ข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 เป็นพันธุ์ข้าวที่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ได้รับความนิยมจากเกษตรกรเป็นอย่างมาก เนื่องจากให้ผลผลิตสูงคุณภาพเมล็ดดี  และมีความต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยใช้ปลูกทดแทนพันธุ์ข้าวสุพรรณบุรี 60 ที่ก่อนหน้านั้นเกษตรกรปลูกกันอย่างแพร่หลายในพื้นที่กว้าง และปลูกกันอย่างต่อเนื่อง จนทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถปรับตัวเข้าทำลาย และสร้างความเสียหายผลผลิตเป็นอย่างมาก

           ข้าวพันธุ์ชัยนาท 1เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง อายุประมาณ119 วันเมื่อปลูกฤดูฝน และ 130 วันในฤดูแล้ง (ปัจจุบันประมาณ 115 วัน ) สูงประมาณ 113 ซม. มีลักษณะทรงกอตั้ง ใบสีเขียว (เขียวอ่อน) ใบธงค่อนข้างยาวตั้งตรง ใบแก่ช้า รวงยาวและแน่น คอรวงสั้น ระแง้ค่อนข้างถี่ เมล็ดยาวเรียวเปลือกเมล็ดสีฟาง ท้องไข่น้อย ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 8 สัปดาห์    

ประวัติ
       ได้มาจากการผสม 3 ทางระหว่าง
ข้าวสายพันธุ์ IR13146-158-1 
กับ IR15314-43-2-3-3
และ BKN6995-16-1-1-2 
ในปี พ.ศ. 2525 ที่สถานีทดลองข้าวชัยนาท 
ปี พ.ศ. 2525 - 2529  ปลูกข้าวพันธุ์ผสมชั่วที่ 1 ถึงชั่วที่ 6  จนได้สายพันธุ์ CNTBR82075-43-2-1
ปี พ.ศ. 2530  2535 เปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี ระหว่างสถานี และในนาราษฎร์
ปี พ.ศ. 2535  พิจารณาเป็นสายพันธุ์ข้าวดีเด่น  และรับรองพันธุ์เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2536 โดยกรมวิชาการเกษตร และให้ชื่อว่า ข้าวเจ้าชัยนาท 1




ลักษณะเด่น
1. ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนดี
2. ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยกระโดดหลังขาว
3. ต้านทานโรคใบหงิก และค่อนข้างต้านทานโรคไหม้
4.ให้ผลผลิตเฉลี่ยฤดูฝน 725 กก./ไร่ และฤดูแล้ง 754 กก./ไร่
5.คุณภาพการสีดี ข้าวเมื่อหุงสุกมีลักษณะร่วนแข็ง  ประเภทข้าวเสาไห้ นำไปแปรรูปเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว   เส้นหมี่ เส้นก๋วยจั๊บ และเส้นขนมจีนได้     

พื้นที่แนะนำ
แนะนำให้ปลูกในเขตภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางในพื้นที่การทำนาเขตชลประทานโดยเฉพาะในแหล่งที่มีการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว โรคใบหงิก และโรคไหม้

ปัจจุบัน
ข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 ซึ่งเคยปลูกกันอย่างต่อเนื่องเป็นพื้นที่กว้างในเขตนาชลประทาน ปัจจุบันเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลก็สามารถปรับตัวเข้าทำลายได้แล้ว (กรณีเดียวกับพันธุ์ข้าวสุพรรณบุรี 60) ทางกรมการข้าวจึงแนะนำให้หยุดปลูกพันธุ์ข้าวดังกล่าว (รวมถึงพันธุ์ข้าวปทุมธานี 1 ด้วย) เพื่อลดความเสียหาย และตัดวงจรการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีตาล  โดยแนะนำให้เกษตรกรปลูกพันธุ์ข้าวรับรองที่ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีตาล ได้แก่ กข41 และกข47 แทน

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท (Chai Nat Rice Research Center)


           เริ่มทำการก่อสร้าง ในปี พ.ศ. 2500 โดยเปิดทำการเป็น สถานีขยายพันธุ์ข้าวชัยนาท สังกัดกองบำรุงพันธุ์ กรมการข้าว ในปี พ.ศ. 2501 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีทดลองข้าวชัยนาท ในปี พ.ศ. 2504    
           ปี พ.ศ. 2515 กรมการข้าวได้ยุบเลิก รวมเข้ากับ กรมกสิกรรม เป็นกรมวิชาการเกษตร ทำให้ สถานีทดลองข้าวชัยนาท จึงไปสังกัดอยู่กับกองการข้าว กรมวิชาการเกษตร
           ปี พ.ศ. 2525 มีการปรับเปลี่ยน กองการข้าว เป็น สถาบันวิจัยข้าว ทำให้ สถานีทดลองข้าวชัยนาท ต้องปฏิบัติงานภายใต้การกำกับดูแลของ ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก
           ปี พ.ศ. 2545  สถานีทดลองข้าวชัยนาท เปลี่ยนไปสังกัด สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 ชัยนาท กรมวิชาการเกษตร และได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งใน ปี พ.ศ. 2546 เป็น ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตชัยนาท   
           ปี พ.ศ. 2549 มีประกาศจัดตั้ง กรมการข้าว อีกครั้ง ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตชัยนาท จึงยกฐานะเป็น ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท สังกัดสำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว มาจนถึงปัจจุบัน

ที่ตั้ง

          เลขที่ 116 หมู่ที่ 2 ถนนพหลโยธิน ตำบลเขาท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท เส้นรุ้งที่ 15 องศา 15 ลิปดาเหนือ และเส้นเเวงที่ 100 องศา 5 ลิปดาตะวันออก ห่างจากตัวจังหวัดชัยนาท 1.5 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร 196 กิโลเมตร พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 15.5 เมตร ลักษณะดินเป็นดินเหนียวชุดสระบุรี นครปฐม และนครปฐมไฮเฟส บางส่วนเป็นดินร่วน ใช้แหล่งน้ำชลประทาน จากคลองส่งน้ำธรรมมูล - เขาท่าพระ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามโนรมย์ พื้นที่ทั้งหมด 357 ไร่

หน้าที่ และความรับผิดชอบ

          ศึกษา ค้นคว้า และวิจัย เกี่ยวกับข้าว แบบสหสาขาวิชา เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหา และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตข้าว และเมล็ดพันธุ์ข้าว สำหรับเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน รวม 11 จังหวัด โดยดำเนินการร่วมกับศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก และศูนย์วิจัยข้าวลพบุรี มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี และให้บริการทางวิชาการด้านข้าว แก่เกษตรกร และบุคคลทั่วไป ทั้งภาครัฐ และเอกชน ประสานงาน และบูรณาการร่วมกับศูนย์วิจัยข้าวอื่น ๆ รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายใน และต่างประเทศ

ผลงานในอดีตถึงปัจจุบัน

   ประสบความสำเร็จทางด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าว จำนวน 3 พันธุ์ ดังนี้
          
       - ปี 2536  พันธุ์ข้าวชัยนาท 1
       - ปี 2547  พันธุ์ข้าวชัยนาท 2
       - ปี 2550  พันธุ์ข้าว กข29 (ชัยนาท 80)