วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556

ข้าวขาวเจ๊ก

    

     ขาวเจ๊ก เป็นข้าวพื้นเมืองสายพันธุ์ดี ที่ปลูกกันอย่างแพร่หลายในพื้นที่ของ อ.หันคา จ.ชัยนาท 
       ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท ได้เก็บรวบรวมพันธุ์ และทำการคัดเลือก ในปี 2547
           คุณลักษณะทั่วไป
        ขาวเจ๊ก เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง อายุเบา เก็บเกี่ยวกลางเดือนพฤศจิกายน ทรงกอตั้ง ใบสีเขียว  คอรวงยาว ความสูง 168 เซนติเมตร เปลือกเมล็ดสีฟาง  เมล็ดรูปร่างเรียว รวงแน่นปานกลาง ความยาวเมล็ดข้าวกล้อง 7.87 มิลลิเมตร น้ำหนักข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด 11.6 กรัม
มีระยะพักตัว 6 สัปดาห์
                
              ลักษณะเด่น
 
1. ให้ผลผลิตเฉลี่ย 507 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 (468 กิโลกรัมต่อไร่) ประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์
  2. ปริมาณอมิโลสต่ำ (18.16 เปอร์เซ็นต์) เมื่อหุงต้มลักษณะข้าวสุกจะนุ่มเหนียว
  3. มีกลิ่นหอม

  


                      
                     พื้นที่แนะนำ
เหมาะสำหรับนาน้ำฝนในเขตภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง
ที่เกษตรกรต้องการปลูกข้าวอายุเบา
              ข้อควรระวัง
ไม่ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และแมลงบั่ว
อ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง และค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคไหม้ 

วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ข้าวหอมใบเตย C85

       ข้าว C85 ปัจจุบันกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมาก เนื่องจากมีผู้ประกอบการโรงสีหลายแห่งในจังหวัดนครสวรรค์ นำไปผลิตเป็นข้าวสารและจัดจำหน่ายในท้องตลาด โดยใช้ชื่อว่า “หอมใบเตย” แต่กำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ
          
     ดังนั้น จึงควรมีการพัฒนาการผลิตและขยายจำนวนเมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และโรงสีภายในพื้นที่ให้ทั่วถึง เพื่อให้เกษตรกรได้บริโภคข้าวที่มีคุณภาพ และเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร รวมทั้งรักษาพันธุ์ข้าวพันธุ์ให้สามารถปลูกและคงความนิยมต่อไปให้ได้




คุณลักษณะทั่วไป
      ข้าวพันธุ์ C85 เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง อายุปานกลาง เก็บเกี่ยวประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน ลำต้นและใบมีสีเขียว ใบกว้าง ใบธงทำมุมกับคอรวง ต้นแข็ง ไม่ล้มง่าย รวงใหญ่แน่นปานกลาง ความสูงเฉลี่ย 166 เซนติเมตร น้ำหนักข้าวเปลือก 11.7 กิโลกรัมต่อถัง ข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด หนัก 35.4 กรัม เปลือกเมล็ดสีฟาง ข้าวเปลือกยาว 10.40 มิลลิเมตร กว้าง 2.95 มิลลิเมตร    ยาว 2.15 มิลลิเมตร รูปร่างเรียว ระยะพักตัว 5-6 สัปดาห์

 
                          ลักษณะเด่น

  1. ให้ผลผลิตเฉลี่ย 517 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่า ขาวดอกมะลิ 105 ประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์
  2. วันเก็บเกี่ยวไม่ตรงกับ ขาวดอกมะลิ 105 เนื่องจากออกดอกช้ากว่า ประมาณ 10 วัน
  3. คุณภาพเมล็ดดี เมล็ดข้าวกล้องยาว 8.09 มิลลิเมตร รูปร่างเรียว มีท้องไข่น้อย 
  4. คุณภาพการสีดี  สามารถทำเป็นข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ได้
  5. คุณภาพทางเคมีจัดเป็นข้าวอมิโลสต่ำ คือ 18.55 เปอร์เซ็นต์ ความคงตัวของแป้งสุกอ่อน อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ ข้าวหุงสุกแล้วอ่อนนุ่ม



พื้นที่แนะนำ
                      นาอาศัยน้ำฝนในเขตภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง

ข้อควรระวัง 
               ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง และโรคไหม้ ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554

น้ำท่วมศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท

       ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท ประสบปัญหาน้ำท่วมมาตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2554 ก่อเกิดความเสียหายต่อหน่วยงาน และงานวิจัยเป็นอย่างมาก ทั้ง ความเสียหายที่ประเมินค่าได้ ได้แก่ อาคาร สำนักงาน อุปกรณ์สำนักงาน อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ และเครื่องจักรกลการเกษตร รวมทั้งเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์คัด และพันธุ์หลัก ที่ถือเป็นเมล็ดพันธุ์ชั้นหัวเชื้อ จำนวนทั้งสิ้น 90 ตัน ซึ่งต้องจัดสรรไปให้กับศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวต่าง ๆ ผลิตเพื่อจำหน่ายให้กับเกษตรกร และความเสียหายที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ ได้แก่ งานวิจัยทั้งหมดในฤดูนาปี 2554 ตั้งแต่งานปรับปรุงพันธุ์ข้าว งานอนุรักษ์พันธุกรรมข้าว งานอารักขาโรค-แมลง  จนถึงเทคโนโลยีการผลิตข้าว โดยงานปรับปรุงพันธุ์ข้าวนั้นต้องสูญเสียสายพันธุ์ข้าวพันธุ์ผสมในชั่วอายุต่างๆ ซึ่งมีโอกาสถูกคัดเลือกเป็นข้าวพันธุ์ดีในอนาคตได้ รวมทั้งงานอนุรักษ์พันธุกรรมที่เก็บรวบรวมข้าวพื้นเมืองจากที่ต่างๆ และนำมาปลูกประเมินลักษณะเพื่อคัดเลือกให้เป็นพันธุ์บริสุทธิ์ ก็ได้รับความเสียหายไปทั้งหมดเช่นกัน

ประมวลภาพน้ำท่วมศูนย์วิจัยข้าวชัยนาทในช่วงแรกๆ ที่น้ำเริ่มเข้ามาภายในศูนย์ฯ
ประตูทางเข้าศูนย์ฯ วันแรกๆที่น้ำเริ่มท่วม
ป้อมยาม ทางเข้าศูนย์ฯ
ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท ยังยินดีต้อนรับอยู่
สภาพแปลงผลิตเมล็พันธุ์ (กข31) ที่อยู่ติดกับทางเข้าวศูนย์ฯ ในวันแรก
ซึ่งต่อมาระดับน้ำสูงขึ้นอีกจนท่วมข้าวเสียหายไปทั้งหมด
อาคารสำนักงาน
ศูนย์บริการชาวนา
แปลงแสดงพันธุ์ข้าว
อาคารงานผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและยุ้งข้าว
ลานตากข้าว
ต้นมะตูม ที่สมเด็จพระเทพฯ ทรงปลูกไว้
ถนนหน้าห้องพัสดุ
ถนนติดกับแปลงทดลอง
อาชีพใหม่ของคนงาน
พาหนะที่ใช้ในยามนี้
ใต้น้ำเป็นแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี
บรรยากาศสวยๆ แต่ใต้ผืนเป็นข้าวพันธุ์ผสมสายพันธุ์ดี  
ที่มีโอกาสถูกคัดเลือกเป็นพันธุ์ข้าวในอนาคต
จากวันแรกที่น้ำท่วม ระดับน้ำก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่สามารถระบายออกได้

วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท รับเสด็จ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

         วันที่ ๓๐ ธันวาาคม ๒๕๕๑  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จพระราชดำเนินยังศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ทอดพระเนตรการดำเนินงานของศูนย์ฯ ทรงเกี่ยวข้าวในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์หลักซึ่งปักดำข้าวพันธุ์ชัยนาท ๑ และทรงเยี่ยมราษฎรที่มาเฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ
  
ทรงทอดพระเนตรนิทรรศการภายในศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท

งานด้านปรับปรุงพันธุ์ข้าวนาน้ำฝน
งานด้านปรับปรุงพันธุ์ข้าวนาชลประทาน
งานด้านอารักขา (โรคข้าว)
งานด้านอารักขา (แมลงศัตรูข้าว)
ทรงปลูกต้นมะตูม ต้นไม้ประจำจังหวัดชัยนาท
ทอดพระเนตรศูนย์บริการชาวนา
ทรงประทับรถไฟฟ้า เสด็จไปแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว  ชัยนาท 1
ทรงเสด็จลงแปลงนาเกี่ยวข้าว
ทรงเยี่ยมราษฎรที่มาเฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ
เกษตรกรจังหวัดชัยนาททูลเกล้าถวายส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวา
เจ้าหน้าที่ของศูนย์วิจัยข้าวเฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ชัยนาท 3 (Chai Nat 3), กข29 (RD29), ชัยนาท 80 (Chai Nat 80)

        ชัยนาท 3, ชัยนาท 80 และกข29  เป็นชื่อข้าวพันธุ์เดียวกัน ไม่ว่าจะเรียกว่ายังไงก็ได้ทั้งนั้น โดยชื่อ ชัยนาท 3 มาจากลำดับของพันธุ์ข้าวที่ออกโดยศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท เป็นพันธุ์ที่สาม ชื่อชัยนาท 80 เป็นชื่อที่เนื่องมาจากรับรองในปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนม์มายุครบ 80 พรรษา ส่วนชื่อ กข29 กำหนดจากเป็นข้าวพันธุ์แรกที่รับรองพันธุ์ภายหลังมีประกาศจัดตั้งกรมการข้าว ขึ้นใหม่ ต่อจากพันธุ์ข้าว กข27 ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์สุดท้ายที่รับรองโดยของกรมการข้าวเดิม โดยปัจจุบันในหน่วยงานกรมการข้าวกำหนดให้เรียกชื่อ กข29 เหมือนกันทั้งหมด เพื่อให้ความเข้าใจที่ตรงกัน

         เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว 103 วัน ในฤดูนาปี และ 99 วันในฤดูนาปรัง เมื่อปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม กอตั้ง ต้นแข็งไม่ล้มง่าย ความสูงเฉลี่ย 104 เซนติเมตร ใบสีเขียวเข้ม ใบธงตั้งตรง รวงแน่นปานกลาง คอรวงยาว เปลือกเมล็ดสีฟาง ข้าวกล้องสีขาว เป็นท้องไข่น้อย รูปร่างเรียว ยาว 7.34 มิลลิเมตร กว้าง 2.23 มิลลิเมตร หนา 1.80 มิลลิเมตร มีปริมาณแอมิโลสสูง (26.6-29.4%) ระยะพักตัวของเมล็ด 4-6 สัปดาห์

ประวัติ
      ได้จากการผสมสามทางระหว่างลูกผสมชั่วที่ 1 ของพันธุ์สุพรรณบุรี 60 และสายพันธุ์ IR29692-99-3-2-1 กับสายพันธุ์ IR11418-19-2-3 ที่ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท เมื่อ พ.ศ. 2532 คัดเลือกจนได้สายพันธุ์ CNT89098-281-2-1-2-1 




ปี พ.ศ. 2533 - 2541 ศึกษาพันธุ์ และเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาทระหว่าง ปี ปี ปี พ.ศ. 2541 - 2547 นำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ศูนย์วิจัยข้าวลพบุรี และศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท
ปี พ.ศ. 2542 - 2547 นำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ จังหวัดพิษณุโลก ลพบุรี สิงห์บุรี และชัยนาท 
ปี พ.ศ. 2544 - 2548 นำเข้าทดสอบเสถียรภาพผลผลิต ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก แพร่ อุบลราชธานี สกลนคร สุรินทร์ ปทุมธานี สุพรรณบุรี พัทลุง คลองหลวง ราชบุรี ชัยนาท ลพบุรี และฉะเชิงเทรา คัดเลือกเข้าทดสอบผลผลิตในนาเกษตรกร ในจังหวัดพิษณุโลก อุตรดิตถ์ พิจิตร สุโขทัย ชัยนาท และสิงห์บุรี 
คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง ชื่อ กข29 (ชัยนาท 80) เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2550


ลักษณะเด่น
1. อายุสั้น มีอายุวันเก็บเกี่ยว 99 วัน ในฤดูนาปรัง และ103 วันในฤดูนาปี เมื่อปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม
2. ผลผลิตสูง เฉลี่ย 876 กิโลกรัมต่อไร่
3. ค่อนข้างต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในภาคเหนือตอนล่าง และโรคขอบใบแห้ง
4.ให้ผลผลิตเฉลี่ยฤดูฝน 725 กก./ไร่ และฤดูแล้ง 754 กก./ไร่
5.คุณภาพการสีดีมาก สามารถสีเป็นข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์
6. มีปริมาณธาตุเหล็กในข้าวกล้อง 15.7 มิลลิกรัม ต่อ 1 กิโลกรัม ในข้าวสาร 6.7 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม     


พื้นที่แนะนำ
พื้นที่นาชลประทาน ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน ที่ต้องการข้าวอายุสั้น โดยเริ่มปลูกในเดือนสิงหาคม ธันวาคม และเมษายน หรือสำหรับปลูกหลังถูกน้ำท่วมในฤดูฝนและสามารถปลูกและเก็บเกี่ยวได้ 2 ครั้งในฤดูนาปรังก่อนถูกน้ำท่วม

ข้อควรระวัง
1.ไม่ควรปลูกในช่วงกลางเดือนกันยายนถึงปลายเดือนพฤศจิกายน ซึ่งมีอากาศเย็น ทำให้เมล็ดลีบมาก ผลผลิตต่ำ
2. กข29 (ชัยนาท 80) อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในเขตจังหวัดนครปฐม ปทุมธานี ราชบุรี และฉะเชิงเทรา

ปัจจุบัน
ข้าวพันธุ์ กข29 หลังจากที่ในระยะแรกมีความยาวของเมล็ดข้าวเปลือกสั้นกว่าเมล็ดข้าวทั่วไปอยู่เล็กน้อย จนไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก ปัจจุบันจึงได้มีการคัดเลือกพันธุ์ใหม่อีกครั้งเพื่อให้มีความยาวของเมล็ดมากขึ้น จนเป็นที่ยอมรับจากโรงสีหรือพ่อค้าข้าว ซึ่งเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางยังมีการปลูกข้าวพันธุ์นี้อยู่